วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                                    เครือข่ายที่ทำงานรวมกันเป็นกลุ่มงาน เรียกว่า  Workgroup  เมื่อเชื่อมโยงหลาย ๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกันจะเป็นเครือข่ายขององค์กร  จะเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่   สามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวางโดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันและสื่อสารถึงกันได้  เช่น
                                1.  การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน   เครือข่ายที่ให้บริการเก็บข่าวสาร  ตัวเลขหรือข้อมูลใช้งานจะใช้ฐานข้อมูลเดียวกันได้  เช่น  ราคาสินค้า  บัญชีสินค้า  ฯลฯ
                                2.  การแบ่งปันทรัพยากรในเครือข่าย  อุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้ร่วมกันได้  เช่น  การพิมพ์เอกสารจะใช้เครื่องพิมพ์เครื่องเดียวกับคอมพิวเตอร์เครือข่ายหลายเครื่องก็ได้ เป็นต้น
                                3.  การติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนเครือข่าย  เมื่อมีการเชื่อมโยงสถานีงานเข้าด้วยกันก็จะสามารถโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันได้  การดำเนินการต่าง ๆ ควรเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ฝ่ายบริหารเครือข่ายขององค์กรได้กำหนดไว้
                                4.  สำนักงานอัตโนมัติ  แนวคิดคือต้องการลดการใช้กระดาษ  หันมาใช้ระบบการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ที่แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทันที  โดยการใช้สัญญาณอิเลคทรอนิกส์แทน  จะทำให้การทำงานคล่องตัวและรวดเร็ว
                                การใช้งานเครือข่ายยังมีการประยุกต์ได้หลายอย่างตั้งแต่ การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน  การทำงานเป็นกลุ่ม  การใช้ทรัพยากรร่วมกัน  การนัดหมายการส่งงาน  แม้แต่ในห้องเรียนก็ใช้เครือข่ายเพื่อการเรียนการสอน  ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้เรียกค้นข้อมูลเป็นต้น

เทคโนโลการรับส่งข้อมูล

เทคโนโลยีที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลบนเครือข่าย Wireless LAN

ในปัจจุบันเทคโนโลยีที่นิยมใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลบนระบบเครือข่ายแบบไร้สายนั้นมีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้

1. Frequency Hopping Spread Spectrum (FHSS): FHSS

เป็นเทคโนโลยีเก่า สามารถรองรับการรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วค่อนข้างต่ำแค่ประมาณ 1 - 2 Mbps เท่านั้น FHSS จะใช้วิธีในการแบ่งข้อมูลเป็นส่วนเล็กๆ แล้วส่งข้อมูลไปในช่วงเวลาหนึ่งๆ นั้น แต่ถ้าหากมีข้อมูลที่ต้องการจะส่งมากกว่า 1 ข้อมูล ก็จะทำการแบ่งการส่งข้อมูลในความถี่ที่แตกต่างกัน โดยจะใช้การสลับกันส่งข้อมูล ใช้เวลาในการส่งข้อมูลแต่ละครั้งประมาณ 0.4 วินาทีในหนึ่งความถี่ ซึ่งสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 79 ช่วงความถี่ที่ต่างกัน

2. Direct Sequence Spread Spectrum (DSSS)

วิธีการรับ-ส่งข้อมูลแบบ DSSS นี้จะใช้วิธีส่งข้อมูลแบบต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ไม่มีการกระโดดเหมือนกับแบบ FHSS โดยจะแบ่งช่วงความถี่ในการส่งข้อมูลเป็น 11 ช่วงความถี่ แต่ละช่วงความถี่จะใช้ค่าความถี่ประมาณ 22 MHz ทำให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงขึ้น คือ ประมาณ 1 – 11 Mbps แต่เนื่องจากวิธีการรับ-ส่งข้อมูลแบบ DSSS นี้ใช้ช่วงความถี่ในการรับ-ส่งข้อมูลค่อนข้างกว้าง ทำให้จำนวนของข้อมูลที่จะสามารถส่งไปพร้อมกันได้นั้น ลดลงเหลือเพียง 3 ช่วงความถี่เท่านั้น

อุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงเครือข่าย

                   1.   สายคู่บิดเกลียว  Twisted  pair  เป็นสายทองแดง  พันกันตามมาตรฐานเพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายนอก   อัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวขึ้นอยู่กันพื้นที่หน้าตัดของตัวนำคือสายทองแดงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างจะส่งสัญญาณได้ดี  สายคู่บิดเกลียวมี 2 ชนิดคือ
                                ก.  สายคู่บิดเกลียว ชนิดไม่มีการกั้นสัญญาณรบกวน  หรือ    Unshielded  Twisted  Pair  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสาย   UTP  ใช้ในวงจรโทรศัพท์  สาย UTP  ใช้ลวดทองแดง  8  เส้น  แต่สายโทรศัพท์มี 2 หรือ 4  เส้น    สาย UTP  จะต่อเข้ากับหัว  RJ45  นิยมใช้กันมาก  ซึ่งใช้งานได้หลายแบบ  เช่น
                                                -  สายทองแดง 3-8  เป็นสายสัญญาณ  10  เมกะบิตของอิเธอร์เน็ตแบบ  10BASE-T
                                                -  สายทองแดง 4 เส้น เป็นสายสัญญาณ 100 ของอิเธอร์เน็ตแบบ 100BASE-T
                                                -  สายทองแดง 8 เส้นเป็นสายสัญญาณเสียง
                                                -  สายทองแดง 2 เส้น สำหรับสายโทรศัพท์
                                ข.  สายคู่บิดเกลียวชนิดมีการกั้นสัญญาณรบกวน  หรือ  Shielded  Twisted  Pair  หรือ  STP 
มีตัวกั้นสัญญาณรบกวน  STP  ใช้ความถี่สูงกว่า  UTP  ราคาแพงกว่าด้วย
                                ค.  สายโคแอคเชียล  Coaxial  เป็นสายสัญญาณที่มีสายทองแดงเดี่ยวเป็นแกนกลางและมีสายทองแดงถักล้อมรอบเป็นตัวกั้นสัญญาณ  มีหลายแบบตามลักษณะความต้านทานของสาย
                                ง.  เส้นใยแก้วนำแสง  Fiber  optic  เป็นสายที่ใช้แสงความถี่สูงวิ่งไปตามเส้นใยแก้ว  สามารถนำข้อมูลได้มาก  ส่งได้ถึง พันล้านบิตต่อวินาที ใช้ได้ในระยะทางไกล  เส้นใยแก้วนำแสงใช้สำหรับส่งข้อมูลสำหรับเครือข่าย

อุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงเครือข่าย

                   1.   สายคู่บิดเกลียว  Twisted  pair  เป็นสายทองแดง  พันกันตามมาตรฐานเพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายนอก   อัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวขึ้นอยู่กันพื้นที่หน้าตัดของตัวนำคือสายทองแดงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างจะส่งสัญญาณได้ดี  สายคู่บิดเกลียวมี 2 ชนิดคือ
                                ก.  สายคู่บิดเกลียว ชนิดไม่มีการกั้นสัญญาณรบกวน  หรือ    Unshielded  Twisted  Pair  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสาย   UTP  ใช้ในวงจรโทรศัพท์  สาย UTP  ใช้ลวดทองแดง  8  เส้น  แต่สายโทรศัพท์มี 2 หรือ 4  เส้น    สาย UTP  จะต่อเข้ากับหัว  RJ45  นิยมใช้กันมาก  ซึ่งใช้งานได้หลายแบบ  เช่น
                                                -  สายทองแดง 3-8  เป็นสายสัญญาณ  10  เมกะบิตของอิเธอร์เน็ตแบบ  10BASE-T
                                                -  สายทองแดง 4 เส้น เป็นสายสัญญาณ 100 ของอิเธอร์เน็ตแบบ 100BASE-T
                                                -  สายทองแดง 8 เส้นเป็นสายสัญญาณเสียง
                                                -  สายทองแดง 2 เส้น สำหรับสายโทรศัพท์
                                ข.  สายคู่บิดเกลียวชนิดมีการกั้นสัญญาณรบกวน  หรือ  Shielded  Twisted  Pair  หรือ  STP 
มีตัวกั้นสัญญาณรบกวน  STP  ใช้ความถี่สูงกว่า  UTP  ราคาแพงกว่าด้วย
                                ค.  สายโคแอคเชียล  Coaxial  เป็นสายสัญญาณที่มีสายทองแดงเดี่ยวเป็นแกนกลางและมีสายทองแดงถักล้อมรอบเป็นตัวกั้นสัญญาณ  มีหลายแบบตามลักษณะความต้านทานของสาย
                                ง.  เส้นใยแก้วนำแสง  Fiber  optic  เป็นสายที่ใช้แสงความถี่สูงวิ่งไปตามเส้นใยแก้ว  สามารถนำข้อมูลได้มาก  ส่งได้ถึง พันล้านบิตต่อวินาที ใช้ได้ในระยะทางไกล  เส้นใยแก้วนำแสงใช้สำหรับส่งข้อมูลสำหรับเครือข่าย

อุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงเครือข่าย

                   1.   สายคู่บิดเกลียว  Twisted  pair  เป็นสายทองแดง  พันกันตามมาตรฐานเพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายนอก   อัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวขึ้นอยู่กันพื้นที่หน้าตัดของตัวนำคือสายทองแดงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างจะส่งสัญญาณได้ดี  สายคู่บิดเกลียวมี 2 ชนิดคือ
                                ก.  สายคู่บิดเกลียว ชนิดไม่มีการกั้นสัญญาณรบกวน  หรือ    Unshielded  Twisted  Pair  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสาย   UTP  ใช้ในวงจรโทรศัพท์  สาย UTP  ใช้ลวดทองแดง  8  เส้น  แต่สายโทรศัพท์มี 2 หรือ 4  เส้น    สาย UTP  จะต่อเข้ากับหัว  RJ45  นิยมใช้กันมาก  ซึ่งใช้งานได้หลายแบบ  เช่น
                                                -  สายทองแดง 3-8  เป็นสายสัญญาณ  10  เมกะบิตของอิเธอร์เน็ตแบบ  10BASE-T
                                                -  สายทองแดง 4 เส้น เป็นสายสัญญาณ 100 ของอิเธอร์เน็ตแบบ 100BASE-T
                                                -  สายทองแดง 8 เส้นเป็นสายสัญญาณเสียง
                                                -  สายทองแดง 2 เส้น สำหรับสายโทรศัพท์
                                ข.  สายคู่บิดเกลียวชนิดมีการกั้นสัญญาณรบกวน  หรือ  Shielded  Twisted  Pair  หรือ  STP 
มีตัวกั้นสัญญาณรบกวน  STP  ใช้ความถี่สูงกว่า  UTP  ราคาแพงกว่าด้วย
                                ค.  สายโคแอคเชียล  Coaxial  เป็นสายสัญญาณที่มีสายทองแดงเดี่ยวเป็นแกนกลางและมีสายทองแดงถักล้อมรอบเป็นตัวกั้นสัญญาณ  มีหลายแบบตามลักษณะความต้านทานของสาย
                                ง.  เส้นใยแก้วนำแสง  Fiber  optic  เป็นสายที่ใช้แสงความถี่สูงวิ่งไปตามเส้นใยแก้ว  สามารถนำข้อมูลได้มาก  ส่งได้ถึง พันล้านบิตต่อวินาที ใช้ได้ในระยะทางไกล  เส้นใยแก้วนำแสงใช้สำหรับส่งข้อมูลสำหรับเครือข่าย

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามระยะทางที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์การสื่อสาร
   เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งแยกออกตามสภาพการเชื่อมโยงได้เป็น 3 ชนิดคือ
1. เครือข่ายท้องถิ่น หรือเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN)
2. เครือข่ายระดับเมือง หรือเครือข่ายแมน (Metropolitan Area Network : MAN)
3. เครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายแวน (Wide Area Network : WAN)

เครือข่ายท้องถิ่น (LAN)
                   เครือข่ายแลน หรือเครือข่ายท้องถิ่น เป็นเครือข่ายขนาดเล็ก ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้าง ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เครือข่ายแลนจัดได้ว่าเป็น เครือข่ายเฉพาะขององค์การ การสร้างเครือข่ายแลนนี้องค์การสามารถดำเนินการทำเองได้ โดยวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคาร หรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็ก ที่เชือมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป ภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้อง หรือองค์การขนาดใหญ่ เช่น มหาวิทยาลัย

                                           
เครือข่ายระดับเมือง (MAN)
เป็นเครือข่ายที่ใช้ภายในเมือง หรือภายในจังหวัด เป็นระบบที่มีขนาดกลางอยู่ระหว่าง เครือข่ายแลน กับ เครือข่าย แวน

เครือข่ายระดับประเทศ (WAN)
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ มีการติดต่อต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกลจึงต้องอาศัยระบบบริการข่ายสายสาธารณะ เช่น การสื่อสารแห่ง ประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียม ใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้ บริการแบบสาธารณะ เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกล และต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร มีสาขาทั่วประเทศ มีบริการรับฝากและถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามระยะทางที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์การสื่อสาร
   เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งแยกออกตามสภาพการเชื่อมโยงได้เป็น 3 ชนิดคือ
1. เครือข่ายท้องถิ่น หรือเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN)
2. เครือข่ายระดับเมือง หรือเครือข่ายแมน (Metropolitan Area Network : MAN)
3. เครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายแวน (Wide Area Network : WAN)

เครือข่ายท้องถิ่น (LAN)
                   เครือข่ายแลน หรือเครือข่ายท้องถิ่น เป็นเครือข่ายขนาดเล็ก ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้าง ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เครือข่ายแลนจัดได้ว่าเป็น เครือข่ายเฉพาะขององค์การ การสร้างเครือข่ายแลนนี้องค์การสามารถดำเนินการทำเองได้ โดยวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคาร หรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็ก ที่เชือมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป ภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้อง หรือองค์การขนาดใหญ่ เช่น มหาวิทยาลัย

                                           
เครือข่ายระดับเมือง (MAN)
เป็นเครือข่ายที่ใช้ภายในเมือง หรือภายในจังหวัด เป็นระบบที่มีขนาดกลางอยู่ระหว่าง เครือข่ายแลน กับ เครือข่าย แวน

เครือข่ายระดับประเทศ (WAN)
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ มีการติดต่อต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกลจึงต้องอาศัยระบบบริการข่ายสายสาธารณะ เช่น การสื่อสารแห่ง ประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียม ใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้ บริการแบบสาธารณะ เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกล และต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร มีสาขาทั่วประเทศ มีบริการรับฝากและถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม

ความหมายและพัฒนาการของการสื่อสาร

องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารประการหนึ่งคือ “สื่อ” หรือ “medium” สื่อที่ว่านี้อาจเป็นสื่อบุคคล สื่อมวลชน หรือสื่อกิจกรรมใดๆ ที่สามารถส่ง “สาร” จาก “ผู้ส่ง”ไปยัง “ผู้รับ” ได้บางครั้งการสื่อสารต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การสื่อสารสามารถกระทำได้สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจถึงความหมาย วิวัฒนาการ และความสำคัญของเทคโนโลยีการสื่อสารด้วย
ความหมายของเทคโนโลยีการสื่อสาร

“เทคโนโลยีการสื่อสาร” (Communication Technology) มีความหมายตรงๆถึง “สื่อที่ช่วยในการถ่ายทอดสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร” เช่น วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น เทคโนโลยีดิจิตัลช่วยในการประมวลและจัดการกับข้อมูลจำนวนมากๆได้ จึงเรียกเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเครื่องคอมพิวเตอร์ว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ” (Information Technology) วิวัฒนาการของเทคโนโลยีดำเนินไปอย่างไม่สิ้นสุด ทำให้เกิดการผสมผสานศักยภาพระหว่าง “เทคโนโลยีการสื่อสาร” และ “เทคโนโลยีสารสนเทศ” เกิดเป็น “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” (Communication and Communication Technology หรือ ICT) ซึ่งช่วยให้การสื่อสารของมนุษย์สามารถกระทำได้ง่าย รวดเร็ว กว้างขวาง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ดังนั้น ความหมายของ “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” (ICT) จึงเป็นร่มใหญ่ที่รวมเอาเครื่องมือการสื่อสาร การประยุกต์ใช้ ซึ่งมีความหมายรวมถึง วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์และเครือข่าย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ต่างๆ ระบบดาวเทียม ฯลฯ รวมทั้งการบริการและการใช้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเหล่านี้ เช่น การประชุมทางไกล หรือการเรียนทางไกล ดังนั้น ICT จึงมักถูกกล่าวถึงในบริบทเฉพาะ เช่น ICT ในการศึกษา ICT ในการบริการสาธารณสุข และ ICT ในการพัฒนาท้องถิ่น เป็นต้น

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

มนุษย์มีการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีต่างๆเพื่อการสื่อสารมาเป็นเวลานานนับพันปี จากภาพที่ 1 จะเห็นว่า ในระยะแรกนั้น มนุษย์ใช้เทคโนโลยีที่ประดิษฐ์ขึ้นจากธรรมชาติ เช่น แผ่นปาปีรัส การตีกลอง การเป่าเขาสัตว์ จนกระทั่งมีการประดิษฐ์หนังสือพิมพ์ขึ้นประมาณ 59 ปีก่อนคริสตกาล การสื่อสารด้วยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์เริ่มต้นขึ้นเมื่อมีการส่งสัญญาณโทรเลขในปี ค.ศ. 1838 และการเกิดขึ้นของวิทยุกระจายเสียงใน ค.ศ. 1848 ในขณะเดียวกันนักประดิษฐ์ส่วนหนึ่งก็กำลังพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ขึ้นมา แต่ยังไม่สามารถนำมาใช้งานได้ทั่วไป สื่อโทรทัศน์เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1927 และช่วงทศวรรษที่ 1960s (ระหว่าง ค.ศ. 1960 – 1969) คอมพิวเตอร์ก็ถูกนำมาใช้แพร่หลายมากขึ้น และมีการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายในเวลาต่อมา เทคโนโลยีที่เรียกกันว่าเป็นสื่อสมัยใหม่อย่างอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1983 และกลายเป็นเทคโนโลยีที่ปฏิวัติโลกการสื่อสารเลยทีเดียว

ในส่วนของเทคโนโลยีโทรศัพท์ไร้สายนั้น ยุคแรกของโทรศัพท์ไร้สายอยู่ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980s (ระหว่าง ค.ศ. 1980 – 1989) เทคโนโลยีโทรศัพท์มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วพร้อมศักยภาพที่สูงขึ้น ก้าวไปสู่โทรศัพท์ยุคที่ 2 และ 3 และ 4 ซึ่งทำให้คนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้รวดเร็วทันใจ ด้วยเทคโนโลยีที่มีคุณสมบัติในการเคลื่อนที่ได้ (mobility) ตลอดเวลา สามารถรับส่งข้อมูลได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์ หรือรับฟังรายการวิทยุและรับชมรายการโทรทัศน์ได้จากโทรศัพท์ที่อยู่ในมือเราเท่านั้น

 
ภาพที่ 1: วิวัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสาร