วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                                    เครือข่ายที่ทำงานรวมกันเป็นกลุ่มงาน เรียกว่า  Workgroup  เมื่อเชื่อมโยงหลาย ๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกันจะเป็นเครือข่ายขององค์กร  จะเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่   สามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวางโดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันและสื่อสารถึงกันได้  เช่น
                                1.  การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน   เครือข่ายที่ให้บริการเก็บข่าวสาร  ตัวเลขหรือข้อมูลใช้งานจะใช้ฐานข้อมูลเดียวกันได้  เช่น  ราคาสินค้า  บัญชีสินค้า  ฯลฯ
                                2.  การแบ่งปันทรัพยากรในเครือข่าย  อุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้ร่วมกันได้  เช่น  การพิมพ์เอกสารจะใช้เครื่องพิมพ์เครื่องเดียวกับคอมพิวเตอร์เครือข่ายหลายเครื่องก็ได้ เป็นต้น
                                3.  การติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนเครือข่าย  เมื่อมีการเชื่อมโยงสถานีงานเข้าด้วยกันก็จะสามารถโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันได้  การดำเนินการต่าง ๆ ควรเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ฝ่ายบริหารเครือข่ายขององค์กรได้กำหนดไว้
                                4.  สำนักงานอัตโนมัติ  แนวคิดคือต้องการลดการใช้กระดาษ  หันมาใช้ระบบการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ที่แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทันที  โดยการใช้สัญญาณอิเลคทรอนิกส์แทน  จะทำให้การทำงานคล่องตัวและรวดเร็ว
                                การใช้งานเครือข่ายยังมีการประยุกต์ได้หลายอย่างตั้งแต่ การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน  การทำงานเป็นกลุ่ม  การใช้ทรัพยากรร่วมกัน  การนัดหมายการส่งงาน  แม้แต่ในห้องเรียนก็ใช้เครือข่ายเพื่อการเรียนการสอน  ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้เรียกค้นข้อมูลเป็นต้น

เทคโนโลการรับส่งข้อมูล

เทคโนโลยีที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลบนเครือข่าย Wireless LAN

ในปัจจุบันเทคโนโลยีที่นิยมใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลบนระบบเครือข่ายแบบไร้สายนั้นมีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้

1. Frequency Hopping Spread Spectrum (FHSS): FHSS

เป็นเทคโนโลยีเก่า สามารถรองรับการรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วค่อนข้างต่ำแค่ประมาณ 1 - 2 Mbps เท่านั้น FHSS จะใช้วิธีในการแบ่งข้อมูลเป็นส่วนเล็กๆ แล้วส่งข้อมูลไปในช่วงเวลาหนึ่งๆ นั้น แต่ถ้าหากมีข้อมูลที่ต้องการจะส่งมากกว่า 1 ข้อมูล ก็จะทำการแบ่งการส่งข้อมูลในความถี่ที่แตกต่างกัน โดยจะใช้การสลับกันส่งข้อมูล ใช้เวลาในการส่งข้อมูลแต่ละครั้งประมาณ 0.4 วินาทีในหนึ่งความถี่ ซึ่งสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 79 ช่วงความถี่ที่ต่างกัน

2. Direct Sequence Spread Spectrum (DSSS)

วิธีการรับ-ส่งข้อมูลแบบ DSSS นี้จะใช้วิธีส่งข้อมูลแบบต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ไม่มีการกระโดดเหมือนกับแบบ FHSS โดยจะแบ่งช่วงความถี่ในการส่งข้อมูลเป็น 11 ช่วงความถี่ แต่ละช่วงความถี่จะใช้ค่าความถี่ประมาณ 22 MHz ทำให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงขึ้น คือ ประมาณ 1 – 11 Mbps แต่เนื่องจากวิธีการรับ-ส่งข้อมูลแบบ DSSS นี้ใช้ช่วงความถี่ในการรับ-ส่งข้อมูลค่อนข้างกว้าง ทำให้จำนวนของข้อมูลที่จะสามารถส่งไปพร้อมกันได้นั้น ลดลงเหลือเพียง 3 ช่วงความถี่เท่านั้น

อุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงเครือข่าย

                   1.   สายคู่บิดเกลียว  Twisted  pair  เป็นสายทองแดง  พันกันตามมาตรฐานเพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายนอก   อัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวขึ้นอยู่กันพื้นที่หน้าตัดของตัวนำคือสายทองแดงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างจะส่งสัญญาณได้ดี  สายคู่บิดเกลียวมี 2 ชนิดคือ
                                ก.  สายคู่บิดเกลียว ชนิดไม่มีการกั้นสัญญาณรบกวน  หรือ    Unshielded  Twisted  Pair  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสาย   UTP  ใช้ในวงจรโทรศัพท์  สาย UTP  ใช้ลวดทองแดง  8  เส้น  แต่สายโทรศัพท์มี 2 หรือ 4  เส้น    สาย UTP  จะต่อเข้ากับหัว  RJ45  นิยมใช้กันมาก  ซึ่งใช้งานได้หลายแบบ  เช่น
                                                -  สายทองแดง 3-8  เป็นสายสัญญาณ  10  เมกะบิตของอิเธอร์เน็ตแบบ  10BASE-T
                                                -  สายทองแดง 4 เส้น เป็นสายสัญญาณ 100 ของอิเธอร์เน็ตแบบ 100BASE-T
                                                -  สายทองแดง 8 เส้นเป็นสายสัญญาณเสียง
                                                -  สายทองแดง 2 เส้น สำหรับสายโทรศัพท์
                                ข.  สายคู่บิดเกลียวชนิดมีการกั้นสัญญาณรบกวน  หรือ  Shielded  Twisted  Pair  หรือ  STP 
มีตัวกั้นสัญญาณรบกวน  STP  ใช้ความถี่สูงกว่า  UTP  ราคาแพงกว่าด้วย
                                ค.  สายโคแอคเชียล  Coaxial  เป็นสายสัญญาณที่มีสายทองแดงเดี่ยวเป็นแกนกลางและมีสายทองแดงถักล้อมรอบเป็นตัวกั้นสัญญาณ  มีหลายแบบตามลักษณะความต้านทานของสาย
                                ง.  เส้นใยแก้วนำแสง  Fiber  optic  เป็นสายที่ใช้แสงความถี่สูงวิ่งไปตามเส้นใยแก้ว  สามารถนำข้อมูลได้มาก  ส่งได้ถึง พันล้านบิตต่อวินาที ใช้ได้ในระยะทางไกล  เส้นใยแก้วนำแสงใช้สำหรับส่งข้อมูลสำหรับเครือข่าย

อุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงเครือข่าย

                   1.   สายคู่บิดเกลียว  Twisted  pair  เป็นสายทองแดง  พันกันตามมาตรฐานเพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายนอก   อัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวขึ้นอยู่กันพื้นที่หน้าตัดของตัวนำคือสายทองแดงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างจะส่งสัญญาณได้ดี  สายคู่บิดเกลียวมี 2 ชนิดคือ
                                ก.  สายคู่บิดเกลียว ชนิดไม่มีการกั้นสัญญาณรบกวน  หรือ    Unshielded  Twisted  Pair  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสาย   UTP  ใช้ในวงจรโทรศัพท์  สาย UTP  ใช้ลวดทองแดง  8  เส้น  แต่สายโทรศัพท์มี 2 หรือ 4  เส้น    สาย UTP  จะต่อเข้ากับหัว  RJ45  นิยมใช้กันมาก  ซึ่งใช้งานได้หลายแบบ  เช่น
                                                -  สายทองแดง 3-8  เป็นสายสัญญาณ  10  เมกะบิตของอิเธอร์เน็ตแบบ  10BASE-T
                                                -  สายทองแดง 4 เส้น เป็นสายสัญญาณ 100 ของอิเธอร์เน็ตแบบ 100BASE-T
                                                -  สายทองแดง 8 เส้นเป็นสายสัญญาณเสียง
                                                -  สายทองแดง 2 เส้น สำหรับสายโทรศัพท์
                                ข.  สายคู่บิดเกลียวชนิดมีการกั้นสัญญาณรบกวน  หรือ  Shielded  Twisted  Pair  หรือ  STP 
มีตัวกั้นสัญญาณรบกวน  STP  ใช้ความถี่สูงกว่า  UTP  ราคาแพงกว่าด้วย
                                ค.  สายโคแอคเชียล  Coaxial  เป็นสายสัญญาณที่มีสายทองแดงเดี่ยวเป็นแกนกลางและมีสายทองแดงถักล้อมรอบเป็นตัวกั้นสัญญาณ  มีหลายแบบตามลักษณะความต้านทานของสาย
                                ง.  เส้นใยแก้วนำแสง  Fiber  optic  เป็นสายที่ใช้แสงความถี่สูงวิ่งไปตามเส้นใยแก้ว  สามารถนำข้อมูลได้มาก  ส่งได้ถึง พันล้านบิตต่อวินาที ใช้ได้ในระยะทางไกล  เส้นใยแก้วนำแสงใช้สำหรับส่งข้อมูลสำหรับเครือข่าย

อุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงเครือข่าย

                   1.   สายคู่บิดเกลียว  Twisted  pair  เป็นสายทองแดง  พันกันตามมาตรฐานเพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายนอก   อัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวขึ้นอยู่กันพื้นที่หน้าตัดของตัวนำคือสายทองแดงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างจะส่งสัญญาณได้ดี  สายคู่บิดเกลียวมี 2 ชนิดคือ
                                ก.  สายคู่บิดเกลียว ชนิดไม่มีการกั้นสัญญาณรบกวน  หรือ    Unshielded  Twisted  Pair  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสาย   UTP  ใช้ในวงจรโทรศัพท์  สาย UTP  ใช้ลวดทองแดง  8  เส้น  แต่สายโทรศัพท์มี 2 หรือ 4  เส้น    สาย UTP  จะต่อเข้ากับหัว  RJ45  นิยมใช้กันมาก  ซึ่งใช้งานได้หลายแบบ  เช่น
                                                -  สายทองแดง 3-8  เป็นสายสัญญาณ  10  เมกะบิตของอิเธอร์เน็ตแบบ  10BASE-T
                                                -  สายทองแดง 4 เส้น เป็นสายสัญญาณ 100 ของอิเธอร์เน็ตแบบ 100BASE-T
                                                -  สายทองแดง 8 เส้นเป็นสายสัญญาณเสียง
                                                -  สายทองแดง 2 เส้น สำหรับสายโทรศัพท์
                                ข.  สายคู่บิดเกลียวชนิดมีการกั้นสัญญาณรบกวน  หรือ  Shielded  Twisted  Pair  หรือ  STP 
มีตัวกั้นสัญญาณรบกวน  STP  ใช้ความถี่สูงกว่า  UTP  ราคาแพงกว่าด้วย
                                ค.  สายโคแอคเชียล  Coaxial  เป็นสายสัญญาณที่มีสายทองแดงเดี่ยวเป็นแกนกลางและมีสายทองแดงถักล้อมรอบเป็นตัวกั้นสัญญาณ  มีหลายแบบตามลักษณะความต้านทานของสาย
                                ง.  เส้นใยแก้วนำแสง  Fiber  optic  เป็นสายที่ใช้แสงความถี่สูงวิ่งไปตามเส้นใยแก้ว  สามารถนำข้อมูลได้มาก  ส่งได้ถึง พันล้านบิตต่อวินาที ใช้ได้ในระยะทางไกล  เส้นใยแก้วนำแสงใช้สำหรับส่งข้อมูลสำหรับเครือข่าย

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามระยะทางที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์การสื่อสาร
   เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งแยกออกตามสภาพการเชื่อมโยงได้เป็น 3 ชนิดคือ
1. เครือข่ายท้องถิ่น หรือเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN)
2. เครือข่ายระดับเมือง หรือเครือข่ายแมน (Metropolitan Area Network : MAN)
3. เครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายแวน (Wide Area Network : WAN)

เครือข่ายท้องถิ่น (LAN)
                   เครือข่ายแลน หรือเครือข่ายท้องถิ่น เป็นเครือข่ายขนาดเล็ก ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้าง ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เครือข่ายแลนจัดได้ว่าเป็น เครือข่ายเฉพาะขององค์การ การสร้างเครือข่ายแลนนี้องค์การสามารถดำเนินการทำเองได้ โดยวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคาร หรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็ก ที่เชือมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป ภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้อง หรือองค์การขนาดใหญ่ เช่น มหาวิทยาลัย

                                           
เครือข่ายระดับเมือง (MAN)
เป็นเครือข่ายที่ใช้ภายในเมือง หรือภายในจังหวัด เป็นระบบที่มีขนาดกลางอยู่ระหว่าง เครือข่ายแลน กับ เครือข่าย แวน

เครือข่ายระดับประเทศ (WAN)
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ มีการติดต่อต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกลจึงต้องอาศัยระบบบริการข่ายสายสาธารณะ เช่น การสื่อสารแห่ง ประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียม ใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้ บริการแบบสาธารณะ เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกล และต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร มีสาขาทั่วประเทศ มีบริการรับฝากและถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามระยะทางที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์การสื่อสาร
   เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งแยกออกตามสภาพการเชื่อมโยงได้เป็น 3 ชนิดคือ
1. เครือข่ายท้องถิ่น หรือเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN)
2. เครือข่ายระดับเมือง หรือเครือข่ายแมน (Metropolitan Area Network : MAN)
3. เครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายแวน (Wide Area Network : WAN)

เครือข่ายท้องถิ่น (LAN)
                   เครือข่ายแลน หรือเครือข่ายท้องถิ่น เป็นเครือข่ายขนาดเล็ก ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้าง ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เครือข่ายแลนจัดได้ว่าเป็น เครือข่ายเฉพาะขององค์การ การสร้างเครือข่ายแลนนี้องค์การสามารถดำเนินการทำเองได้ โดยวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคาร หรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็ก ที่เชือมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป ภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้อง หรือองค์การขนาดใหญ่ เช่น มหาวิทยาลัย

                                           
เครือข่ายระดับเมือง (MAN)
เป็นเครือข่ายที่ใช้ภายในเมือง หรือภายในจังหวัด เป็นระบบที่มีขนาดกลางอยู่ระหว่าง เครือข่ายแลน กับ เครือข่าย แวน

เครือข่ายระดับประเทศ (WAN)
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ มีการติดต่อต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกลจึงต้องอาศัยระบบบริการข่ายสายสาธารณะ เช่น การสื่อสารแห่ง ประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียม ใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้ บริการแบบสาธารณะ เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกล และต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร มีสาขาทั่วประเทศ มีบริการรับฝากและถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม